บ้านท่าขอนยาง หมู่ที่ 3 ตำบลท่าขอนยาง
อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำชีตรงสะพานข้ามแม่น้ำชี ถนนถีนานนท์
จากตัวเมืองมหาสารคาม ไปจังหวัดกาฬสินธุ์
ในช่วงอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
บ้านท่าขอนยางเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองมาก่อน จะเห็นได้จากการมีวัดร้าง
โบสถ์ร้าง และพระพุทธรูปศิลปะแบบล้านช้างอ้นเก่าแก่อยู่ที่วัดเจริญผล
ปัจจุบันจากคำบอกเล่าของคนแก่บอกว่า
บ้านท่าขอนยางเคยเป็นเมืองและมีเจ้าเมืองปกครองมาก่อน
แต่ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสาร
เมืองท่าขอนยาง
เดิมบรรพบุรุษชาวเมืองท่าขอนยางในอดีตนั้นตั้งภูมิลำเนาอยู่เมืองคำเกิด
แต่ในช่วงนั้นเกิดสงคราม พระลำดวน (คำก้อน)
เจ้าเมืองคำเกิดพร้อมด้วยอุปฮาดราชวงศ์และ
ราชบุตรเมืองคำเกิด จึงได้พาครอบครัวมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระยามหาอำมาตย์ (ป้อม)
ให้ครอบครัวพระลำดวนซึ่งมีจำนวน 2,859 คน ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ท่าขอนยาง
ครัวพระคำแดงจำนวน 933 คน ให้ไปตั้งบ้านดึงกระดาน
โดยให้ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ทั้งสองเมืองในปี พ.ศ. 2375 และเป็นบ้านเมืองในราวปี
พ.ศ. 2341
ซึ่งแต่เดิมเมืองท่าขอนยางเคยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองคำเกิดชาวเมืองแซงบาดาลเคยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองคำม่วน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2341 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
ทรงพระราชดำริว่า ครัวเมืองคำเกิด ครัวเมืองคำม่วน
จะตั้งอยู่บ้านบึงกระดานทั้งสองเมือง ที่ไร่นาจักหาพอไม่ และที่บ้านท่าขอนยางริมลำน้ำชี
ฟากคลองตะวันออกแขวงเมืองกาฬสินธุ์ ส่วนเมืองคำม่วนให้คงอยู่ ณ บ้านบึงกระดาน
หรือบ้านแซงกระดาน หรือบ้านแซงบาดาลในปัจจุบัน
ต่อมาในปีจุลศักราช
1,207 ปีมะเส็ง พ.ศ.
2388 ในสมัยพระยาไชยสุนทร (เลื่อน) เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้มีใบบอกลงไปกรุงเทพฯ
จึงแต่งตั้งให้พระลำดวน (ฤาคำก้อน) ซึ่งตั้งอยู่บ้านท่าขอนยางเป็นพระสุวรรณภัคดี
เป็นเจ้าเมือง
และให้อุปฮาดราชวงศ์ราชบุตรเมืองคำเกิดเป็นราชบุตรยกบ้านท่าขอนยางเป็นเมืองท่าขอนยาง
โดยให้ผูกส่วนเป็นผลในจำนวน 40 หาบ คิดหาบละ 5 ตำลึง ถาดหมาก คนโทเงิน สัปทนแพรดัน
1 เสื้อเข็บขามก้านแยง 1 ผ้าโพกแพรขลิบ 1 แพร ยาวห่ม 1 ผ้าปูน 1
และพระราชทานอุปฮาดราชวงศ์ ราชบุตรเมืองท่าขอนยางอย่างเดียวกับเมืองกูแล่นช้าง
(ยางตลาด)
ต่อมาเมื่อปีจุลศักราช
1,214 ปีชวด พ.ศ. 2395 พระสุวรรณภักดี (ลำดวน)
เจ้าเมืองท่าขอนยาง ได้ถึงแก่กรรมนับอายุในตำแหน่งได้ 7 ปี
จึงแต่งตั้งให้อุปฮาดเป็นพระยาสุวรรณภัคดี
เจ้าเมืองและได้เลื่อนราชวงศ์เป็นอุปฮาด และแต่งตั้งให้ท้าวพรมมาเป็นราชวงศ์
เมื่อเจ้าเมืองคนที่ 2 ถึงแก่กรรม อุปฮาดก็ได้ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนที่ 3 ท้าวพรมมาก็ได้เลื่อนเป็นอุปฮาด
และได้แต่งตั้งให้ท้าวหงส์เป็นราชวงศ์ต่อมา
เมื่อจุลศักราช
1,238 ปีชวด พ.ศ. 2419
พระสุวรรณภักดีเจ้าเมืองท่าขอนยางไม่พอใจขึ้นเมืองกาฬสินธุ์
จึงขออพยพครอบครัวจากเมืองท่าขอนยาง ไปขึ้นกับเมืองท่าอุเทน ส่วนเมืองท่าขอนยางอุปฮาดราชวงศ์ กรมการเมืองรักษาเมืองอยู่
เมืองท่าขอนยางก็ว่างจากเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นสาเหตุที่พระยาสุวรรณภักดีอพยพครอบครัวหนีครั้งนี้
สันนิษฐานได้ 2 อย่างคือ
1.
บุตรถูกจระเข้กิน
2.
มีเรื่องขัดแย้งกับเจ้าเมืองกาฬสินธุ์
สรุปแล้วนับตั้งแต่บ้านท่าขอนยางได้ยกฐานะเป็นเมืองขึ้น
มีเจ้าเมืองปกครองอยู่ด้วยกัน 4 คน พระสุวรรณภัคดีพรมมาเป็นคนสุดท้าย
สรุปแล้วนับตั้งแต่บ้านท่าขอนยางได้ยกฐานะเป็นเมืองขึ้น
มีเจ้าเมืองปกครองอยู่ด้วยกัน 4 คน พระสุวรรณภักดีพรมมาเป็นคนสุดท้าย
ต่อมาเมื่อปี
พ.ศ. 2443 เมืองคันธวิชัย ถูกยุบลงเป็นอำเภอ ให้ชื่อใหม่ว่า อำเภอกันทรวิชัย
เมืองท่าขอนยางก็ถูกยุบเป็นตำบล ขึ้นตรงต่ออำเภอกันทรวิชัย และในปี พ.ศ. 2453
ได้โอนเมืองกันทรวิชัย
จากเมืองกาฬสินธุ์ไปขึ้นต่อเมืองร้อยเอ็ดและได้ย้ายอำเภอปัจฉิมสารคามไปตั้งใหม่ในปี
พ.ศ. 2443 ใกล้หนองบ่บ้านซำแฮด จึงให้ชื่ออำเภอที่ย้ายไปใหม่เป็นอำเภอบรบือมาจนปัจจุบันนี้
เมืองท่าขอนยางได้ยุบเป็นตำบลเมือปี
พ.ศ. 2443 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นับเวลาได้ 107 ปี
บ้านท่าขอนยางได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้านคือ หมู่ 1,2,3,4,11 หมู่ที่ 3 ได้แบ่งอาณาเขตการปกครองออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2497
โดยมีผู้ใหญ่บ้านปกครองมาแล้ว ดังนี้
1.
นายบุญ เนื่องชนะ ตั้งแต่
พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2515
2.
นายพรมมา สุวรรณภักดี (กำนัน) ตั้งแต่
พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2525
3.
นายเที่ยง บุตราช ตั้งแต่
พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2540
4.
นายสมควร บุตราช ตั้งแต่
พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2547
5.
นายไพลทูล บุตราช ตั้งแต่
พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2551
6.
นายสุบรรณ บุตราช ตั้งแต่
พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553
7.
นายสมยศ ชุ่มอภัย ตั้งแต่
พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น